แผนที่

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน
ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคเดียวในทวีปเอเชียที่มี
อาณาเขตบางส่วนอยู่ในซีกโลกใต้ ทั้งนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งเป็นสองภาคภูมิศาสตร์ ได้แก่
1.เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ รู้จักกันในชื่อ คาบสมุทรอินโดจีน และในอดีตว่า อินโดจีน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา, ลาว, พม่า, มาเลเซียตะวันตก, ไทย และเวียดนาม
2.เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร รู้จักกันในชื่อ กลุ่มเกาะมลายู และในอดีตว่า นูซันตารา ได้แก่ หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย), บรูไน, มาเลเซียตะวันออก,
ติมอร์ตะวันออก, อินโดนีเซีย (ยกเว้นนิวกินีตะวันตกที่อยู่ในโอเชียเนีย), ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บรูไน
กัมพูชา
อินโดนีเซีย
ลาว
มาเลเซีย
พม่า
ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์
ไทย
ติมอร์-เลสเต
เวียดนาม


ภูมิภาคนี้อยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผ่นที่สำคัญคือแผ่นซุนดาซึ่งมีอาณาเขต
อยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้น พม่า ภาคเหนือของไทย ทางเหนือของลาวและเวียดนาม และเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ เทือกเขาในพม่า
ไทยและคาบสมุทรมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย ส่วนหมู่เกาะของฟิลิปปินส์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนไฟ ส่วนประเทศอินโดนีเซียเป็นจุดที่แนวเทือกเขา
ทั้งสองมาเจอกันจึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟประทุบ่อยครั้ง


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็น 10.5% ของทวีปเอเชียและคิดเป็น 3% ของพื้นที่โลก มีประชากรรวมมากกว่า 641 ล้านคน
หรือประมาณ 8.5% ของประชากรโลก ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
และเชื้อชาติเป็นอย่างมากโดยมีภาษากว่าร้อยภาษาตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อันเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการร่วมมือกันในภาคเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การศึกษาและวัฒนธรรมในหมู่สมาชิก



กดเพื่อกลับไปหน้าแรก↦↦↦ทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย