Psychosis Home Other Web Contact

โรคหลายอัตลักษณ์

โรคหลายอัตลักษณ์

โรคหลายบุคลิกหรือโรคหลายอัตลักษณ์คืออะไร ? (Dissociative Identity Disorder - DID) คือ โรคทางจิตเวชแบบหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีบุคลิกเพิ่มขึ้นมามากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป โดยตัวตนกับบุคลิกของเราจะสลับกันปรากฏตัวนั่นเอง ความทรงจำ การกระทำ การรับรู้ ความคิด และความรู้สึกจะแยกกันโดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้ป่วยอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อบุคลิกอีกหนึ่งบุคลิกโผล่มา แต่ในบางกรณีอาจมีความทรงจำร่วมกันได้

โรคหลายบุคลิกเกิดจากอะไร ?
ส่วนมากสาเหตุของโรคนี้ คือ การได้รับการกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงมาเป็นเวลานาน เช่น การโดนทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก หรือสูญเสียคนที่รักไป แพทย์เชื่อว่าเมื่อเราต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรงร่างกายและจิตใจของเราอาจรับมือไม่ไหว จึงสร้างอีกหนึ่งบุคลิกหรือตัวตนขึ้นมาเพื่อให้ตัวตนเดิมของเราไม่ต้องรับรู้กับเหตุการณ์นั้นๆ ถือได้ว่าเป็นกลไกป้องกันตัวเองของสมองเรานั่นเอง

อาการของโรคหลายบุคลิก
อาการและความรุนแรงของโรคหลายบุคลิกอาจแตกต่างออกไปในแต่ละคน ในบางรายตัวตนที่เพิ่มเข้ามาอาจไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ในบางรายตัวตนที่เพิ่มเข้ามาอาจ มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นได้

อาการของโรคหลายบุคลิก
•สูญเสียความทรงจำ
•มีอาการหลอน เช่น เห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงจากภายในที่คอยควบคุมตัวเอง
•รู้สึกกังวลตลอดเวลา
•รู้สึกไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวเอง
•เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อความคิดและร่างกาย เช่น อยู่ดีๆก็มีแรงเยอะกว่าปกติ หรือคิดว่าตัวเองกลายเป็นเด็ก
•ภาวะซึมเศร้า
•อาการแพนิค
•พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่นกินเยอะหรือน้อยกว่าปกติ

การรักษาโรคหลายบุคลิก
จะต้องใช้จิตบำบัดในระยะยาว ซึ่งจะต้องค่อยๆ ปรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน โดยใช้จิตแพทย์เป็นหลักในการรักษา สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือให้ ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนไข้เป็น เมื่อคนไข้แสดงอาการก็พยายามยอมรับ หรือไม่แสดงอาการต่อต้าน เพื่อให้คนไข้รู้สึกยอมรับในตัวเองให้ได้ และอัตลักษณ์ของคนไข้ก็จะค่อยๆ กลมกลืนกัน

ย้อนกลับ หน้าต่อไป

โรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล โรคสมองเสื่อม โรคสมาธิสั้น โรคกลัวแบบเฉพาะ โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ