Psychosis Home Other Web Contact

โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไป ซ้ำมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจ ซึ่งผู้ป่วยเองจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยก็ไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำอยู่ได้ เช่น คอยดูว่าปิดไฟห้องน้ำหรือไม่ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าปิดไปแล้วก็ตาม พฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยตรง

โรคย้ำคิดย้ำทำเกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดโรคนี้เกิดจากได้หลายช่องทางทั้งการทำงานผิดพลาดของร่างกาย จากครอบครัว หรือจากเหตุการณ์อื่น ๆ ได้แก่
•การทำงานของสมอง และระบบประสาทที่ผิดปกติทำให้ส่งผลต่อความรู้สึกที่แสดงออกมา
•เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงได้
•สภาพแวดล้อม หรือเหตุการณ์ที่เคยพบเจอ ส่วนมากจะเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิต

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ การย้ำคิด และการย้ำทำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้
•อาการย้ำคิด เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งวนไปวนมาแต่ยังไม่ตัดสินใจลงมือทำ เช่น คิดมากว่าลืมปิดประตูบ้านหรือไม่ ตอนออกจากบ้าน หรือกลัวอันตรายที่เกิดขึ้นจากการ กระทำของตนเองมากจนเกินไป
•อาการย้ำทำ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างมากกว่าปกติ เช่น ล้างมือบ่อยครั้งอย่างไม่มีเหตุผล และไม่สามารถหยุดทำได้ หรือการปัดโต๊ะตลอด ๆ เพราะกลัวว่าจะมีสิ่งสกปรกทั้ง ๆ ที่ทำความสะอาดไปแล้ว เป็นต้น

ย้ำคิดย้ำทำหรือแค่กังวล
จากข้อมูลที่กล่าวไปหลายคนคงเข้าใจว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างโรคนี้กับความรู้สึกกังวล หากเราแค่ทำบางอย่างซ้ำเพราะ กังวลเรื่องความปลอดภัย ทำแล้วสบายใจ จะยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมอาการดังกล่าวได้ และเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หยุดคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ นั่นถึงหมายความว่าคุณเสี่ยงโรคย้ำคิดย้ำทำ

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทางจิตเวชภายใต้การดูแลของแพทย์ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียงด้วย นอกจากนี้ยังสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดทางจิตด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญสิ่งที่กังวล และอดทนต่อความต้องการของตนเอง เช่น หากผู้ป่วยกังวลเรื่องความสะอาดบนโต๊ะ ให้หาอะไรมาวางบนโต๊ะให้ดูเลอะ และพยายามหักห้ามใจให้ได้ 10-15 นาทีจึงค่อยไปทำความสะอาด จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้น

การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ
•ดูแลตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ
•ผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ดูหนัง เล่นโยคะ ฟังเพลง เป็นต้น
•พยายามเสริมความมั่นใจให้กับตนเอง หลีกเลี่ยงความคิดที่เป็นกังวล
•หากรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำต่อไป
โรคย้ำคิดย้ำทำอาจไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้จะสามารถสร้างความลำบากในชีวิตประจำวัน และคนรอบข้างได้ ถึงแม้การบำบัดอาจจะลำบากแต่ถ้าพยายามจะสามารถหายจากโรคนี้ได้

ย้อนกลับ หน้าต่อไป

โรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรคจิตเภท โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล โรคสมองเสื่อม โรคสมาธิสั้น โรคกลัวแบบเฉพาะ โรคหลายอัตลักษณ์ โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ