Psychosis Home Other Web Contact

โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ Post-Traumatic Stress Disorder หรือเรียกย่อๆว่า PTSD คือ ภาวะสุขภาพจิตที่บุคคลได้ประสบกับ เหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจกับตัวเองหรือ พบเห็นผู้อื่นเผชิญหรือประสบเหตุแล้วเกิดความตกใจ สะเทือนใจจนมีอาการช็อค มีอาการเครียด และเกิดบาดแผลทางใจในช่วงเวลาต่อมา หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ที่ประสบเหตุด้วย โดยหนึ่งในโรคที่สำคัญ คือ โรค PTSD หรือที่เรียกว่าโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย

อาการของโรค PTSD เป็นอย่างไร?
ผู้ที่เป็นโรค PTSD มีอาการแสดงออกมาให้เห็นหลายลักษณะ ส่วนใหญ่มักจะหวนนึกถึงเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา มักจะหวาดระแวง วิตกกังวล ฝันร้าย มองโลกในแง่ร้าย หรืออารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่ายอยู่บ่อยๆ อาการเหล่านี้จะแสดงออกมานานกว่า 1 เดือน หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรง โดยสามารถแบ่งผู้เป็น PTSD ออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่หวนนึกถึงเหตุการณ์รุนแรงซ้ำๆ มักจะฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้นอยู่บ่อยๆ
กลุ่มที่พยายามหลีกเลี่ยงความทรงจำ ที่จะกระตุ้นเหตุการณ์รุนแรง เช่น สถานที่ สิ่งของ
กลุ่มที่มีอาการหวาดกลัว ขี้กังวล ตื่นกลัว ตกใจง่าย นอนไม่หลับ เริ่มส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
กลุ่มที่อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย อารมณ์ไม่มั่นคง มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ได้

ระดับขั้นของอาการ post-traumatic stress disorder (PTSD)

1.ขั้นช็อค  ตั้งตัวไม่ทัน คือภาวะที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนขวัญที่ประสบกับตัวเองหรือเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์นั้นด้วยตัวเอง


2.ขั้นปฎิเสธ ไม่ยอมรับ และมีอาการนิ่ง เย็นชา ขั้นนี้เป็นการปฎิเสธที่จะยอมรับว่ามีสิ่งนี้เกิดขึ้น การแสดงออกของอาการที่เฉยชาไร้ความรู้สึกเป็นกลไกการป้องกันตัวเองเพื่อลดความเครียดหรือวิตกกังวล การรักษาต้องช่วยให้ผ่านพ้นขั้นนี้ไปให้ได้จึงจะสามารถไปต่อในขั้นต่อ ไปได้


3.ขั้นการถูกรบกวนซ้ำซาก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สภาพจิตใจกำลังหาทางจัดการกับสถานการณ์เลวร้ายที่ได้เกิดขึ้น ในขั้นนี้อาจมีฝันร้าย ภาพอดีตความทรงจำ อันเลวร้ายย้อนกลับมา ถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านไปนานแล้วก็ตาม แต่มันยังวนเวียนและยังอยู่ในความคิดทำให้เกิดมีอาการเศร้า เสียใจ หงุดหงิด หมดหวัง สิ้นหวัง หรือไม่สามารถควบคุมความคิดที่รบกวนจิตใจได้


4.การฟื้นคืนสภาพจิตใจในระยะสั้น ในขั้นตอนนี้หลังจากจิตใจได้ทำการต่อสู้เอาชนะกับความลำบากต่างๆที่ได้เจอและเกิดการยอมรับ จิตใจก็เริ่มฟื้นฟูและกลับมาสู่ภาวะปกติตามขั้นพื้นฐานของการอยู่รอด เป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีชีวิตรอด แต่ยังมีการถูกรบกวนซ้ำซากในความคิดยังคงเกิดขี้น ส่งผลต่อความเครียดและรบกวนจิตใจอยู่ตลอดเวลา


5.การปรับโครงสร้างสำหรับการฟื้นคืนสภาพทางจิตใจอย่างถาวร สำหรับคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานและมีบาดแผลทางใจนั้น การเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกป้องกันทางด้านจิตใจของตนเองให้กลับมาเข้มแข็งโดยไม่ทุกข์ทรมานหรืออ่อนไหวต่อสิ่งกระตุ้นที่เคยได้รับจากเหตุการณ์อันเลวร้ายนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและนักจิตวิทยาในการทำบำบัดด้านบาดแผลทางใจ หรือ post-traumatic stress disorder(PTSD)

เหตุการณ์ความกลัว หวาดระแวง ที่ส่งผลต่อความเครียดและเกิดเป็นความเจ็บป่วยด้านจิตใจและร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจึงจำเป็นต้องมีการปรับ โครงสร้างกระบวนการทางความคิดและความทรงจำโดยใช้การทำจิตบำบัดที่เป็นเทคนิคด้านจิตวิทยาในการทำงานลงลึกถึงระบบการทำงานของประสาทและสมอง เพื่อให้สภาพจิตใจได้ฟื้นคืนและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยไม่ถูกรบกวนจิตใจได้อย่างถาวร

จะมีอาการออกมา 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังเหตุการณ์ เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดฉับพลัน ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ ASD สามารถหายเองได้ หรือไม่เป็นอะไรเลยในเดือนแรก แต่หลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือนอาการนี้ยังไม่หายไปจะเรียกว่า PTSD
ระยะที่ 2 คือหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือน ที่เรียกว่า PTSD อาจแสดงอาการออกมาได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ เหตุการณ์นั้นตามมาหลอกมาหลอน (re-experiencing) ผู้ที่รอดตายจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หนีจากสงคราม หนีจากคนที่ตามมาทำร้าย จะยังรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นกำลังจะเกิดขึ้นอีก รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ นั้นขึ้นมาเองและตกใจกลัวหรือหลับตาทีไรก็ยังเห็นภาพนั้น

อาการตื่นตัวมากเกินไป (hyperarousal)
สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ แม้ว่าเหตุการณ์น่ากลัวจะผ่านไปแล้ว แต่ร่างกายก็ยังไม่ยอมเลิกตื่นตัว ทำให้เรายังรู้สึกกระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง ใจสั่น ตกใจง่าย สะดุ้งง่าย ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายกับเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อมีอะไรมาสะกิดให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น คอยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเตือนให้นึกถึงเหตุการณ์ (avoidance) หรือมีอารมณ์เฉยชา (emotional numbing) หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูด หรือนึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้หวาดกลัว เช่น ประสบภัยพิบัติมาจึงไม่กล้าดูข่าวนี้ในโทรทัศน์ หรือไม่กล้าไปในสถานที่ประสบเหตุ เพราะเมื่อเห็นแล้วจะรู้สึกกระวนกระวายขึ้นมาอีก ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็น PTSD ยังอาจมีอาการอื่นได้อีก เช่น ซึมเศร้า โทษตัวเองว่ามีส่วนทำให้เกิดเหตุร้าย หรือรู้สึกผิดที่หนีเอาตัวรอด (survivor guilt) วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ดื่มเหล้าเบียร์มากกว่าเดิมเพื่อดับความกระวนกระวายใจ หงุดหงิดง่าย ทำร้ายตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย

สาเหตุ
นักวิจัยไม่รู้ว่าเหตุใดบางคนจึงเป็นโรค PTSD และคนอื่นๆ ไม่ทราบ พันธุศาสตร์ ประสาทชีววิทยา ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยส่วนบุคคลอาจส่งผลต่อการที่คุณจะเป็นโรค PTSD หลังจากเหตุการณ์เลวร้ายหรือไม่ แต่ในผู้คนส่วนใหญ่มักเกิดจากความกดดันทางจิตใจชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือสะเทือนขวัญขั้นรุนแรง หรือต้องเผชิญกับความรู้สึกเครียด ที่รุนแรงทางจิตใจ

การดูแลรักษาอาการ PTSD
หากเกิดอาการดังกล่าวมากกว่า 1 เดือน หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ซึ่งอาจให้การรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด หลายคนสามารถหายจากอาการ Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)ในระยะสั้น และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ แม้ว่าจะเจอกับความยากลำบากในการปรับตัวหรือใช้ชีวิตในการอยู่อย่างทุกข์ทรมานใจบ้าง แต่การดูแลตัวเองที่ดีและไปพบผู้เชี่ยวชาญในการทำบำบัดบาดแผลทางใจจะสามารถช่วยให้ผู้ประสบเหตุสามารถกลับมาใช้ชีวิตและฟื้นคืนสภาพจิตใจกลับมาดีได้อย่างถาวร

เป้าหมายของการรักษา PTSD คือ มุ่งเน้นให้ความคิดทางลบของผู้ป่วยลดน้อยลง และเพิ่มความคิดความรู้สึกทางบวกของผู้ป่วยให้มากขึ้น เช่น  
* ให้การสนับสนุนที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้น ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การรักษาทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ 
* ความช่วยเหลือจากครอบครัวในการกิจกรรมที่ทำให้มีความสุขในชีวิตประจำวัน 
* ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ PTSD และแนะนำวิธีการเผชิญหน้ากับสิ่งที่หวาดกลัว
* สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มแรงจูงใจในการรักษา

วิธีการบำบัด Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)  5 แบบที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักจิตวิทยานิยมใช้
1. Cognitive-Behavioral Therapy (CBT) หรือ Cognitive Restructuring Therapy
เป็นการเอาชนะความคิดลบ และเป็นการเน้นไปเรื่องกระบวนการคิดที่ถูกต้อง โดยใช้หลากหลายวิธีในการช่วยให้เกิดการมีสติ การรับรู้ มีใจประสานกับกายทำให้เกิดความสงบภายในจิตใจและเอาชนะกับความวิตกกังวล ความกลัว และความเครียดได้

2. Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR Therapy) จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์  เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจากองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นเทคนิคด้านจิตวิทยาที่การทำงานลงลึงถึงสมองส่วนกลาง รักษาและจัดการกับกระบวนการด้านลบและความคิดที่เกิดขึ้นและนำไปเก็บในที่ปลอดภัยที่ไม่สามารถมารบกวนจิตใจได้อีก และขณะนี้มี Brainspotting therapy ซึ่งเป็นขั้นadvance ของEMDR therapy ที่ลงลึกถึงระดับประสาทและสมองเช่นกัน และให้ประสิทธิภาพที่เด่นชัดกว่าในคนที่ประสบความรุนแรงมากและปัญหาค่อนข้างซับซ้อน

3. Sound Therapy มีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัดด้านอารมณ์ จากการศึกษาผู้มีผลกระทบจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญของทหารผ่านศึก ด้วยการใช้เสียง และดนตรีที่ช่วยบำบัดความเครียด วิตกกังวล และลดอาการซึมเศร้า

4. Mind-body Medicine เน้นที่การฝึกร่างกาย ช่วยเรื่องความคิด อารมณ์ที่ส่งผลต่อกาย เช่น โยคะ ฝังเข็ม หรือออกกำลังกาย

5. Mindfulness เป็นการฝึกเจริญสติ อยู่กับปัจจุบัน ตระหนักรู้ถึงสิ่งรอบตัว ร่างกาย ความรู้สึก และความคิดใน

หากผู้ป่วยมีความมั่นคงภายในจิตใจมากขึ้น สามารถจัดการอารมณ์ แลเห็นคุณค่าของตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยนึกถึงความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิต เช่น ความความภูมิใจ สิ่งที่เคยมีความสุข ความสัมพันธ์กับคนอื่น และสามารถกลับไปปรับตัวดำเนินชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง

วิธีรับมือและจัดการความเครียดหลังเผชิญสถานการณ์ร้าย ๆ
เพื่อป้องกันการนำไปสู่โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงหรือ PTSD คือ การได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อน การพบแพทย์เพื่อเข้ากลุ่มบำบัดร่วมกับผู้ที่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน และการปล่อยให้เวลาที่ผ่านไปเพื่อช่วยบรรเทาลบล้างความรู้สึกด้านลบให้หมดไป
ส่วนผู้ที่สงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดกำลังป่วยด้วย PTSD ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาต่อไป เพราะผู้ป่วยบางรายควรได้รับยารักษาควบคู่กับการทำจิตบำบัด โรคทางจิตเวชอย่าง PTSD ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากรักษาควบคุมอาการทันเวลา ผู้ป่วยก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ตามเดิม แต่หากละเลยหรือแก้ปัญหาช้าเกินไป อาจเสี่ยงต่อ การเลือกแก้ปัญหาในทางที่ผิด อย่างการใช้ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มมึนเมาเมื่อเกิดความเครียด และพัฒนาไปสู่อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายได้

คำแนะนำ
หากคุณคือผู้ที่ประสบเหตุรุนแรงมา แล้วมีอาการดังที่บอกข้างต้น นอกจากการเข้ารับการบำบัดจากจิตแพทย์แล้ว สิ่งที่คุณควรทำก็คือ
• เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง การป่วยเป็น โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นโรคจิตหรือเป็นบ้า แต่คุณกำลังเครียดเกินไปจากเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้น เมื่อเข้าใจได้เช่นนี้ ก็จะทำให้คุณสามารถรับมือกับโรคได้ง่ายขึ้น และมีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
• อย่าแยกตัวออกห่างจากคนอื่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด ผู้ป่วยมักจะแยกตัวออกห่างจากคนอื่น อยากอยู่คนเดียว แต่การทำเช่นนั้น จะยิ่งทำให้อาการหนักมากขึ้น ควรปรับตัว และกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงกับก่อนประสบภัยมากที่สุด และทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ และครอบครัวตามปกติ
• กล้าที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้าง กล้าที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อให้อาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตหมดไป
• ต้องดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงฝืนกินอาหารให้ได้ พยายามหาอะไรทำ ระลึกไว้ว่าการทำงานจะช่วยให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยดี

เกร็ดความรู้
เมื่อคนใกล้ตัวป่วยเป็น PTSD ครอบครัว และคนรอบข้าง คือส่วนสำคัญที่ช่วยให้การบำบัดรักษาโรค PTSD ได้ผลดีขึ้น หากคุณมีคนใกล้ตัว ที่ป่วยเป็น PTSD สิ่งที่คุณควรทำ คือ
• รับฟังปัญหาอย่างจริงใจ เป็นมิตร ไม่วิจารณ์ แม้ว่าผู้ป่วยจะพูดถึงแต่สิ่งเดิม ๆ แต่นั่นก็เพราะเขาต้องการระบายความอัดอั้นตันใจ ต้องการคนรับฟังสิ่งเหล่านั้น อย่ารับฟังอย่างไม่ตั้งใจ หรือเสแสร้งว่ารับฟังเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตัวเองถูกทอดทิ้งละเลย
• สอบถามอย่างห่วงใย การถาม เป็นวิธีการแสดงออกถึงความห่วงใยได้ดีวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะถามถึงปัญหา หรือความทุกข์ที่ผ

ย้อนกลับ กลับหน้าหลัก

โรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล โรคสมองเสื่อม โรคสมาธิสั้น โรคกลัวแบบเฉพาะ โรคหลายอัตลักษณ์